Macau 2049

ในเดือนธันวาคมนี้ ท่านจะได้พบการแสดง จากผู้กำกับมือทอง มีชื่อเสียงระดับโลก Zhang Yimou  โชว์  "MACAU 2049” ณ  MGM COTAI
7 ปีที่รอคอย โอกาสที่จะเปิดตัว Zhang Yimou และ MGM ร่วมมือกันนำเสนอการแสดง ใหม่ล่าสุด
ที่แปลกใหม่ผ่านการบูรณาการของศิลปะและเทคโนโมยีล้ำสมัย ที่ก้าวข้ามขอบและเวลา
โดยนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมคลาสสิกที่จับต้องไม่ได้ 8 รายการจาก วัฒนธรรมจีนและเทคโนโลยีสมัยใหม่ 8 ประการที่ทลายขอบเขตทางศิลปะ

กำกับการแสดงโดย Zhang Yimou และทีมงานชั้นนำของโลก 20 คน พร้อมด้สนทัมงานเบื้องหลังระดับฮอลลีวู้ดจำนวน 582 คน หลังจาก 237 วันแห่งการเตรียมการและงานฝีมืออันซับซ้อนกว่า 2,838 ชั่วโมง ผสมผสานกับเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ล้ำสมัย ผลงานชิ้นเอกแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมจีนที่มีอายุนับพันปี กำหนดนิยามใหม่แห่งจินตนาการของศิลปะมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และศิลปะการแสดงพร้อมก้าวข้ามภาษาและขอบเขตวัฒนธรรม

มาร่วมเป็นสักขีพยานว่าทีมงานของ Zhang Yimou นำเสนอ 8 สิ่งมหัศจรรย์ของวัฒนธรรมจีนในโรงละครระดับโลก MGM COTAI – Asia First Dynamic Theatre ที่ให้ทัศนียภาพกว้างไกล 180 องศา มอบความเพลิดเพลินทางสายตา!

รอบปฐมทัศน์: 15 ธันวาคม 2024 (วันอาทิตย์)

สถานที่: MGM COTAI โรงละคร MGM

ตัวอย่างเบื้องหลัง >> https://www.youtube.com/watch?v=TdWtiZsCmAc

 

ตารางราคา
VIP / Reserve MOP888
A / Reserve  MOP688 
B / Reserve  MOP488 
C / Reserve  MOP288 

 

 

 

 

 

การแสดงชุดที่ ๑ กลองศักดิ์สิทธิ์ ระบำเงา

การแสดงที่ผ่านมา คือ เพลงพื้นบ้านของจีนตะวันตกเฉียงเหนือ "ฮวาเอ๋อร์" และการแสดงกลอง และแขนกลหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกล ฮวาเอ๋อร์ ถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นราชวงศ์หมิง แพร่หลายไปในสี่มณฑล ได้แก่ ชิงไห่ กานซู่ หนิงเซี่ย และซินเจียง และเป็นที่นิยมมากในชนชาติต่างๆ เช่น หุย ฮั่น ถู ตงเซียง เป่าอาน ซาลา ทิเบต และยูกูร์ เป็นต้น และจะใช้ภาษาท้องถิ่นในการขับร้องเนื่องจากในเนื้อเพลงมีการเปรียบเทียบผู้หญิงเป็นดอกไม้ จึงได้ชื่อว่า ฮวาเอ๋อร์ และยังเรียกว่า "เย่ชวี" หรือ "เซ่าเหนียน" ฮวาเอ๋อร์ เป็นศิลปะการขับร้องที่มีเสียงสูง เสียงยาว และความสดใสไพเราะไม่เพียงแต่มีภาพลักษณ์ดนตรีที่หลากหลายและมีสีสัน ยังมีเนื้อหาทางวัฒนธรรมที่ลึกซึ้ง จึงได้รับการขนานนามว่า จิตวิญญาณแห่งตะวันตกเฉียงเหนือผู้คนไม่เพียงแต่ทำงานในไร่และเลี้ยงสัตว์ในทุ่งนายังร้องเพลงตามใจชอบระหว่างการเดินทางในแต่ละปีจะมีการกำหนดเวลาและสถานที่เฉพาะเพื่อจัดงานแข่งขันร้องเพลงพื้นบ้านครั้งยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า "ฮวาเอ๋อร์ฮุ่ย" เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงครั้งนี้ได้แก่กลองใหญ่ กลองเล็ก กลองตะโพนเล็ก ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก ฆ้อง และกรับจีน รวมทั้ง 7 ชนิดเป็นต้น โดยมีการผสมผสานเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดต่าง ๆ และวิธีการตีกลองที่หลากหลายเพื่อสร้างเสียงดนตรีและจังหวะที่น่าตื่นเต้นให้กับการแสดง อีกด้านหนึ่งของเวทีเป็นการแสดงโดยหุ่นยนต์แขนกล IRB2600 ที่พัฒนาโดยบริษัท ABB หุ่นยนต์นี้มีแขนยาว 1.65 เมตร สามารถบรรทุกน้ำหนักได้สูงสุด 20 กิโลกรัม แขนของหุ่นยนต์มีข้อต่อ 6 จุด ซึ่งเปรียบเสมือนกับข้อไหล่ ข้อศอก และข้อมือของมนุษย์สามารถหมุนและงอได้ 360 องศาในแกน x y z ทำให้สามารถเคลื่อนที่อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็วได้ นอกจากนี้ หุ่นยนต์แขนกลนี้ยังมีเซ็นเซอร์อัจฉริยะสามารถสแกนสิ่งของต่าง ๆ และปรับการทำงานแบบไดนามิกด้วยความแม่นยำในระดับมิลลิเมตร อีกทั้งยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง โดยไม่ถูกรบกวนจากปัจจัยภายนอก

ทีมงานวิดีโอ  โดย ทีม Attraction จากประเทศฮังการี
วีดีโอระบำเงาผลิตโดย สตูดิโอ Cgfish VFX
ผู้แสดงการตีกลอง U Theatre 
ผู้แสดงฮวาเอ๋อร์  เห้อเต๋อหยุน จากมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน
นักแสดงฮวาเอ๋อร์ : หยางเช่อมู่ จากมณฑลชิงไห่ 
ผู้แสดงระบำเงา หลี่หยู่ นักเต้นรำสมัยใหม่ ประเทศจีน
นักแสดงการระบำเงา : อู๋เยว่เถา, ม่ายจั่วหง

การแสดงชุดที่ ๒ ฮูมั่ย (Khoomei)  เลือนลาง

การแสดงที่ผ่านมา คือ ฮูมั่ย (Khoomei) ของชนชาติมองโกล และการแสดงผ้าไหมลอยลมโดยเทคโนโลยีอากาศพลศาสตร์ ฮูมั่ย (Khoomei) เป็นศิลปะการร้องเพลงอันน่าทึ่งที่ชาวมองโกลคิดค้นขึ้นมานักร้องสามารถใช้กล่องเสียงของตนร้องสองเสียงในเวลาเดียวกันฌสียงหนึ่งเป็นเสียงพื้นฐาน มักเป็นเสียงต่ำและต่อเนื่อง อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงฮาร์โมนิกหรือเสียงสั่นที่มีความถี่สูงเสียงแบบนี้จะทำให้ผู้ฟังนึกถึงเสียงของทุ่งหญ้าเสียงแม่น้ำ สัตว์ป่า และเสียงของแผ่นดินฮูมั่ยยังถือเป็นวิธีหนึ่งที่บรรพบุรุษชาวมองโกล ใช้ในการสื่อสารกับธรรมชาติและสิ่งต่าง ๆ ชนเผ่าเร่ร่อนในสมัยโบราณมักจะร้องเพลงฮูมั่ยในพิธีสำคัญหรือในงานเฉลิมฉลองของครอบครัวแต่ด้วยวิถีชีวิตเร่ร่อนที่ลดน้อยลงพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ศิลปะนี้จึงกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะสูญหายไปอุปกรณ์ Aerodynamic flying yarn เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในด้านอากาศพลศาสตร์ที่ใช้พัดลม 16 ตัว ใช้ปริมาณลม 3,200 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงสร้างแรงผลักขึ้นจากจุดศูนย์กลางคล้ายกับการไหลของอากาศที่เป็นรูปกรวยจากพายุทอร์นาโดจะทำให้การเคลื่อนไหวของผ้าไหมถูกควบคุมให้อยู่ภายในฐานกลมในท่อลมที่มองไม่เห็นที่อยู่เหนือฐานกลมในวังวนที่มีสนามลมสุ่มและเป็นธรรมชาติอย่างมากจึงทำให้ผ้าไหมเปลี่ยนรูปแบบอยู่ตลอดเวลาสร้างเอฟเฟกต์ที่สวยงามเหมือนน้ำพุทำให้ผ้าไหมเต้นรำอย่างมีเสน่ห์บนเวทีการแสดงผ้าไหมลอยลมครั้งนี้

จัดโดยทีมงาน Daniel Wurtzel ศิลปินแนวหน้าจากสหรัฐอเมริกา 
ทีมงานวิดีโอจากสหราชอาณาจักร สตูดิโอออกแบบภาพชั้นนำ Universal Everything
นักแสดงฮูมั่ยและบทเพลงยาว จากมองโกเลียใน ประเทศจีน : เมิ่งเกิน, หลูหน่ารื่อซู, จ้าวซีหลง, บายินหมานเต๋อฮู, ซูรื่อหน่า, เก๋อซีเก๋อปาถู, หน่ายรื่อซื่อเก๋อ, บายินหมานเต๋อฮู, น่ามู่ฮ่าน, หลูรื่อหน่าซู, จ้าวซีหลง, บายินหมานเต๋อฮู, ซูรื่อหน่า, หลูรื่อหน่าซู, เก๋อซีเก๋อปาถู, หน่ายรื่อซื่อเก๋อ, บายินหมานเต๋อฮู, น่ามู่ฮ่าน, หลูรื่อหน่าซู, จ้าวซีหลง, บายินหมานเต๋อฮู, น่ามู่ฮ่าน, หน่ายรื่อซื่อเก๋อ, บายินหมานเต๋อฮู, น่ามู่ฮ่าน

 

การแสดงชุดที่ ๓ เพลงชาวม้ง โปร่งเบา

การแสดงที่ผ่านมา คือ รายการร้องรำทำเพลงของชาวม้งของจีน และการแสดงแสงไฟกระจกไดนามิกด้วยโปรแกรมบรรพบุรุษของชาวม้งได้อพยพมาหลายชั่วอายุคนปัจจุบันส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว หูหนาน และยูนนาน เป็นต้น ชาวม้งมีความสามารถในการร้องเพลงและเต้นรำเนื่องจากระบบภาษาไม่มีตัวอักษรผู้คนมักใช้เสียงเพลงในการสื่อสารความรู้สึกทำให้เกิดเพลงม้งที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นการแสดงครั้งนี้ได้เลือกสามเพลง คือ ขวัญดอกข้าว เพลงแห่งฤดูใบไม้ผลิ และเพลงรัก” ล้วนเป็นเพลงคลาสสิกจากเพลงม้งเพลงเหล่านี้สามารถร้องเดี่ยว ร้องเป็นกลุ่ม หรือร้องและเต้นไปพร้อมกันมีจังหวะที่ชัดเจน เต็มไปด้วยพลังชีวิตมีความสามารถในการสร้างอารมณ์สะเทือนใจอย่างลึกซึ้งชาวม้งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายในการแบ่งกลุ่มของสาขา และในแต่ละสาขาก็จะมีเครื่องแต่งกายดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองซึ่งรวมถึงการเย็บปักที่มีความหมายอันลึกซึ้งและเครื่องเงินที่ประณีตและซับซ้อนสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นการสืบทอดความงามแบบดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังเป็นการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชนชาติอีกด้วยจนได้รับการขนานนามว่า "หนังสือประวัติศาสตร์ที่สวมอยู่บนร่างกาย"เครื่องกระจกไดนามิก ประกอบด้วยกระจกไดนามิก 108 แผ่น และไฟเลเซอร์ 72 ดวงกระจกแต่ละแผ่นมีการติดตั้งเซ็นเซอร์เคลื่อนไหวสามารถจับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างรวดเร็วปรับการหมุนและตำแหน่งของกระจกแบบเรียลไทม์สร้างการสะท้อนแสงในมุมและความเข้มของแสงที่แตกต่างกัน ไฟเวที Ayrton Cobra ที่ใช้ในการแสดงครั้งนี้ได้ติดตั้งแสงเลเซอร์ขนาด 260 วัตต์รวมถึงวงล้อสีและระบบกรองแสงที่มีความแม่นยำสูงสามารถสร้างลำแสงที่มีสีสันสดใสและเข้มข้นสามารถทะลุทะลวงไปได้ไกลหลายกิโลเมตร ทีม WHITEVoid ใช้โปรแกรมรวมระบบไดนามิกและระบบแสงเข้าไว้ด้วยกันขณะที่เมทริกซ์กระจกเคลื่อนที่และหมุนลำแสงที่มีความเข้ม สีสันและเนื้อสัมผัสแตกต่างกัน 72 ลำก็สะท้อนอยู่บนกระจกอย่างแม่นยำสร้างรูปทรงเรขาคณิตที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดและขยายการมองเห็นของผู้ชมไปยังทุกมุมของโรงละครทำลายข้อจำกัดของพื้นที่เวทีแบบดั้งเดิมและสร้างสรรค์พื้นที่ใหม่ขึ้นการจัดแสดงไฟกระจกไดนามิกโดย Kinetic Mirror

ออกแบบโดยทีม WHITEVoid จากเยอรมนี
นักร้องและนักเต้น โดย คณะนาฏศิลป์เขตเฉียนตงหนาน
โรงละครเพลงและการแสดงดนตรีเทศบาลเมืองชิงเต่าและนักเต้นจากมาเก๊า ประเทศจีน
รวมถึงนักแสดงนาฏศิลป์จากมณฑลกุ้ยโจวและมาเก๊า ประเทศจีน

 

การแสดงชุดที่ ๔ ทางสามแยก·หน้ากาก

การแสดงที่ผ่านมาคืองิ้วปักกิ่งเรื่อง "ซานซาโข่ว"หรือ “ทางสามแยก” และการเต้นรำ iPad งิ้วปักกิ่งเรื่อง "ซานซาโข่ว" เป็นการแสดงศิลปะการต่อสู้แบบคลาสสิกมีต้นกำเนิดจาก "ตำนานตระกูลหยาง" ปรากฏครั้งแรกในงิ้วโบราณของสมัยราชวงศ์หมิงเรื่องราวเกิดขึ้นในคืนที่มืดสนิทสมัยราชวงศ์ซ่ง เหรินถังฮุ่ยได้รับคำสั่งจากหยางเหยียนเจาให้ปกป้องเจียวจั้น แม่ทัพสามด่านอย่างลับๆ เมื่อเดินทางมาถึงที่พักในซานซาโข่วยามค่ำคืนเจ้าของโรงพักแรมหลิวลี่ฮวาพยายามช่วยเจียวจั้นแต่เกิดการเข้าใจผิดกับเหรินถังฮุ่ยเนื่องจากในโรงพักแรมไม่มีแสงไฟทั้งสองจึงเข้าใจผิดว่าอีกฝ่ายเป็นศัตรูและเกิดการต่อสู้กันในความมืดท้ายที่สุด พวกเขาก็คลี่คลายความเข้าใจผิดและจับมือคืนดีกันการแสดงนี้เน้นการต่อสู้เป็นหลักนักแสดงต้องประสานงานกันอย่างใกล้ชิดในความมืดเพื่อแสดงทักษะศิลปะการต่อสู้ที่ยอดเยี่ยมและความสามารถในการประสานร่างกายเพื่อสร้างบรรยากาศของความมืดบนเวทีจึงใช้การออกแบบที่เรียบง่ายและควบคุมแสงอย่างเคร่งครัดทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ในยุคอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ด้วยการแพร่หลายของอุปกรณ์เคลื่อนที่อัจฉริยะแอปพลิเคชันโซเชียลต่าง ๆ กลายเป็นแพลตฟอร์มสำคัญในการสื่อสารประจำวันผู้ใช้สามารถใช้ฟังก์ชันการส่งข้อความโต้ตอบทันที การโทรด้วยเสียง และการโทรวิดีโอข้ามเขาและน้ำเพื่อสื่อสารกันแบบเรียลไทม์นอกจากนี้ การใช้งาน AI ยังช่วยให้แอปพลิเคชันการสื่อสารสามารถให้บริการที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้นเช่น การแนะนำอัจฉริยะ การตอบกลับอัตโนมัติ และการรู้จำเสียงทำให้การสื่อสารระหว่างผู้คน ไม่จำเป็นต้องพบหน้ากันอีกต่อไปภายใต้ "หน้ากาก" ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์การสื่อสารระหว่างผู้คนกลับไปสู่ความมืดที่ไม่เห็นหน้ากัน

วีดีโอ ผลิตโดย Dominic Faraway ศิลปินอิสระจากสหราชอาณาจักร
โรงละครเพลงและการแสดงดนตรีเทศบาลเมืองชิงเต่า และนักเต้นจากมาเก๊า ประเทศจีน
นักแสดง iPad จากคณะนาฏศิลป์เขตเฉียนตงหนาน นักแสดงนาฏศิลป์จากมณฑลกุ้ยโจวและมาเก๊า ประเทศจีน
นักแสดงงิ้วปักกิ่ง จันเหล่ย, หานเหยียนซง, หวังซิน, หนิวหลงเฟย, เจียวหลินเฟิง,  เว่ยเจี้ยนผิง

 

การแสดงชุดที่ ๕ ยางเกอ·ระบบควบคุมเชิงตัวเลข

การแสดงที่ผ่านมาคือ การเต้นยางเกอของชาวชางหลีในมณฑลเหอเป่ย ประเทศจีนและหุ่นยนต์จากบริษัทหยี๋ซู่เทคโนโลยีจำกัด(Unitree Robotics) ยางเกอเป็นการเต้นรำพื้นบ้านที่แพร่หลายในภาคเหนือของจีนเป็นการเต้นรำที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน แบ่งออกเป็น "ยางเกอขาโถกเถก" ซึ่งเป็นการแสดงบนไม้โถกเถกและ "ยางเกอบนพื้น" ซึ่งไม่มีการใช้ไม้โถกเถก ยางเกอของชางหลีในมณฑลเหอเป่ยเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการเต้นรำประเภทนี้มีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์หยวนปัจจุบันแพร่หลายในมณฑลเหอเป่ยโดยเฉพาะในพื้นที่ชางหลี หลูหลง ฝู่หนิง เล่อถิง และหลวนเสี้ยน เป็นต้น ผู้คนเต้นรำอย่างอิสระตามใจชอบอธิษฐานให้สภาพอากาศดีและการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ การเก็บเกี่ยวจากผืนดินและช่วงเวลาที่ยุ่งกับการทำเกษตรด้วยความรักและความสุขอันบริสุทธิ์ที่เต็มไปด้วยความร่าเริง สนุกสนาน และมีชีวิตชีวา และตัวละครที่น่าสนใจก็คือ "แม่สื่อ"เป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในการแสดงยางเกอ "แม่สื่อ" เป็นผู้ที่ทำให้เกิดการสมรสและเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งในครอบครัว "แม่สื่อ" ได้สะท้อนให้เห็นว่าในชีวิตสังคมท้องถิ่นและวัฒนธรรมดั้งเดิมนั้นได้ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวและการสมรสอย่างมากและในขณะเดียวกันผู้เข้าร่วมการแสดงยังมีหุ่นยนต์ H1 ที่ผลิตโดยบริษัทหยี๋ซู่เทคโนโลยีจำกัด หุ่นยนต์ H1 เป็นหุ่นยนต์รูปมนุษย์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแบบเต็มรูปแบบสร้างสถิติความเร็วใหม่สำหรับหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ทำลายสถิติโลกด้วยความเร็ว 3.3 เมตรต่อวินาทีและแรงบิดข้อต่อสูงสุด 360 นิวตันเมตร สามารถทำการเดิน วิ่ง และกระโดดได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงรวมถึงการเคลื่อนไหวอื่น ๆนอกจากนี้ยังติดตั้งระบบขับเคลื่อนที่ทรงพลังที่สุดในโลกและระบบ AI ที่ชาญฉลาด มีความสามารถในการรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างว่องไวสามารถนำทางได้ด้วยตนเองนอกจากนี้ยังสามารถเรียนรู้และปรับปรุงได้ด้วยรูปแบบพฤติกรรมและการคิดเชิงตรรกะกลายเป็นหนึ่งในหุ่นยนต์ที่มีขนาดใกล้เคียงกันในปัจจุบัน H1 เป็นหุ่นยนต์ที่ทรงพลังที่สุด ด้วยทีมเทคโนโลยีที่แสดงหุ่นยนต์จากบริษัทหยี๋ซู่เทคโนโลยีจำกัด ที่ตั้งอยู่ในเมืองหังโจว ประเทศจีน 

นักแสดงยางเกอ มาจากยางเกอของชางหลีในมณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน 
นักแสดงการเต้นรำพื้นบ้านยางเกอ การเต้นรำพื้นบ้านยางเกอจากอำเภอชางหลี มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน
คณะนาฏศิลป์เขตเฉียนตงหนาน รวมถึงนักแสดงนาฏศิลป์จากมณฑลกุ้ยโจวและมาเก๊า ประเทศจีน

 

การแสดงชุดที่ ๖  เสียงอี๋·มหาสมุทร

การแสดงที่ผ่านมา คือการร้องเพลง "ไห่ไช่เชียง" ของชาวอี๋จากประเทศจีนและการแสดงเครื่องบินจำลองชีวภาพ "ไห่ไช่เชียง" เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวอี๋ที่ได้รับความนิยมในแคว้นปกครองตนเองชนชาติฮานีและอี๋หงเหอ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชายหนุ่มหญิงสาวของชาวอี๋เมืองสือผิง มักร้องเพลงแบบนี้ในขณะที่พบปะสังสรรค์กัน "ไห่ไช่เชียง" มีโครงสร้างที่ซับซ้อนและมีความยาวรูปแบบการร้องเพลงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้รับการยกย่องว่าเป็น "เบลคันโตหรือการร้องเพลงที่สวยงาม" ของเพลงพื้นเมืองด้วยช่วงเสียงกว้างและเสียงไพเราะทรงพลังเหมือนดั่งคลื่นที่ซัดสาดในทะเลสาบอี้หลงอันใสสะอาดในระหว่างการแสดง นักร้องมักสวมชุดประจำชาติของชาวอี๋พร้อมกับใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น สี่สาย เครื่องเป่า และใบไม้ เพื่อประกอบการแสดงการแสดงครั้งนี้ได้นำเสนอบทเพลงสี่บท ได้แก่ "ฉู่สยงจู้จิ่วเกอ (เพลงชวนดื่มสุรา)" "ซานโยวเชียง" “คูเจี้ย (น้ำตาเจ้าสาว)”และ“เพลงแห่งความคิดถึงฮวาเยาอี๋”ซึ่งแสดงถึงความยินดีในการพบกันและความสุขในการสังสรรค์ความเศร้าเมื่อจากกัน  รวมถึงความจริงใจอย่างลึกซึ้งเครื่องบินจำลองชีวภาพ พัฒนาโดย Airstageโดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโดยใช้หลักการเลียนแบบธรรมชาติ (Biomimetics)เพื่อสร้างเทคโนโลยีและแนวทางใหม่ๆ เช่น การเลียนแบบการบินของนกและแมลงเพื่อพัฒนาโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบาและเทคโนโลยีการบินที่มีประสิทธิภาพสูงรวมถึงการบินอัตโนมัติและเทคโนโลยีการประสานงานภายในกลุ่มโครงการเทคโนโลยีชีวภาพนี้ไม่เพียงแต่เป็นการสำรวจและบุกเบิกนวัตกรรมเทคโนโลยีในแนวหน้าแต่ยังแสดงให้เห็นว่ามนุษย์สามารถนำแรงบันดาลใจและปัญญาจากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม

การแสดงเครื่องบินจำลองชีวภาพโดย ทีม Airstage จากเยอรมนี และทีมจากมาเก๊า ประเทศจีน
การแสดงลอยตัวด้วยสายเคเบิล โดย Anastasia Uhlova จากเบลารุส, Janusz Ciechowski จากประเทศโปแลนด์, Inês Variz จากประเทศโปรตุเกส และ กงเจียหมิน จากมาเก๊า ประเทศจีน
การแสดง "ไห่ไช่เชียง" โดย โอวหวินหลิน และ เย่โย่วหลาน  จากยูนนาน ประเทศจีน
ผู้ขับร้องเพลงไห่ไช่เชียง จากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน : โอวเหวินหลิน และจางย่าซี, จากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน:หวังจินโต่ว และจางย่าชี, จากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน :หวังจินโต่ว และเย่โหยวหลาน

 

การแสดงชุดที่ ๗  สิงโตงาม·แสงสว่าง

การแสดงที่ผ่านมา คือการแสดงเชิดสิงโตและสิงโตแท่งทองคำด้วยชุดควบคุมอัตโนมัติ CNC การเชิดสิงโตผสมผสานศิลปะการต่อสู้ การเต้นรำ การแสดง และดนตรี เป็นศิลปะการแสดงแบบกลุ่มนักแสดงสวมใส่ชุดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเลียนแบบการเคลื่อนไหวและอารมณ์ของสิงโตได้อย่างสมจริง ซึ่งใช้ทั้งความแข็งแรง ความอดทน และการทรงตัวและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ที่รับบทเป็นหัวสิงโตและหางสิงโตความสามัคคีและความชำนาญของทีมเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงคุณภาพและผลลัพธ์ของการแสดงและในขณะเดียวกัน ผู้เล่นดนตรีคือทั้งผู้ควบคุมและจิตวิญญาณของการแสดงเชิดสิงโต ในประเทศจีน การเชิดสิงโตถือเป็นการขจัดสิ่งชั่วร้ายและการหลีกเลี่ยงภัยพิบัติและเป็นสัญลักษณ์ที่นำโชคลาภมาให้อีกทั้งยังเป็นการเชิดชูศักดิ์ศรีของชาวจีน และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับแผ่นดินจีน ดังนั้น จึงมักจะมีการแสดงเชิดสิงโตในพื้นที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่การแสดงเชิดสิงโตบนจอขนาดใหญ่เป็นการจับภาพการเคลื่อนไหวแบบไดนามิกประกอบด้วยระบบจับภาพความเร็วสูง ระบบประสานอุปกรณ์ระบบถ่ายภาพเสมือนจริง และระบบจัดการข้อมูลประกอบด้วยสี่โมดูลหลักประติมากรรมสิงโตด้วยชุดควบคุมอัตโนมัติ CNC นั้น ประกอบด้วยแท่งทองคำจำนวน 2,118 แท่งที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมเชิงตัวเลขแบบเมทริกซ์ซึ่งสร้างขึ้นบนพื้นฐานของหลักการของพีชคณิตเชิงเส้นและทฤษฎีการคำนวณเชิงตัวเลขรวมถึงการคูณและการหาผลลัพธ์ผกผันรวมถึงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ เช่น การแยกค่าลักษณะเฉพาะด้วยการควบคุมระบบและการเขียนโปรแกรมทำให้สามารถหมุนและเคลื่อนที่ได้เส้นทางการเคลื่อนที่ที่ซับซ้อนและเอฟเฟกต์แสงและเงาที่สวยงามสร้างความประทับใจและเพิ่มประสบการณ์ที่หลากหลายทางประสาทสัมผัสการสะท้อนแสงสีทองยังช่วยยกระดับประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสหน้าจอขนาดใหญ่ด้านหลังได้รับการตั้งโปรแกรมเช่นเดียวกันทำให้แท่งทองคำ 49,404 แท่งมีขนาดเท่ากันพลิกกลับทีละแท่งบนจอ 4K เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพที่สวยงามหลากหลาย

การออกแบบรูปแบบสิงโต โดย ศิลปินร่วมสมัยจีน พานไข
ทีมงานเทคโนโลยีของผลงานศิลปะสิงโตในรูปแบบเมทริกซ์จากวิศวกรของบริษัท Beijing Boneng Gaoke Technology Co., Ltd.
การจับภาพการเคลื่อนไหวแบบพลศาสตร์ โดย Tobias Gremmler ศิลปินชาวเยอรมัน
การผลิตเอฟเฟกต์พิกเซล โดย แบล็ควโบว์ จากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน  (บริษัท ปักกิ่ง แบล็ควโบว์ จำกัด) และศิลปินสื่อใหม่ชาวจีน หวังจื้อโอ
นักแสดงเชิดสิงโต คณะเชิดสิงโตและมังกรเซี่ยกั๋วจางจากฮ่องกง ซึ่งนักแสดงประกอบด้วย หวงจื้อเหว่ โฉวหมิงคุน เหรวนหย่งอวี๋ เหลียงอี๋หยาง ซูหง เย่เว่ยเฉิง เฉินเจียฮุย เหลียงเว่ยเย่ เย่จื้อผาน เจียวเจี้ยนหัวและหวงเจียจุน และเฉินเหวินฮุย จากมาเก๊า ประเทศจีน

 

การแสดงชุดที่ ๘ ขับเพลงเล่าเรื่อง·กำเนิด

การแสดงที่ผ่านมา คือ การขับเพลงเล่าเรื่องของชาวส่านเป่ยในประเทศจีน และการแสดงวิดีโอเลเซอร์แบบโต้ตอบการขับเพลงเล่าเรื่องของชาวส่านเป่ยมีต้นกำเนิดในช่วงราชวงศ์หมิงและชิงเป็นศิลปะการเล่าเรื่องร้องเพลงแบบดั้งเดิมของชาวภาคเหนือมณฑลส่านซีผู้เล่าเรื่องมักจะกอดเครื่องดนตรีซานเสียน (ซอสามสายแบบจีน) ขาผูกแผ่นไม้ไผ่มือผูกกระเบื้องสี่ใบเพื่อตีจังหวะ การแสดงสมจริงและมีชีวิตชีวาการแสดงของบุคคลเดียวเทียบได้กับวงดนตรีทั้งวงความทรงจำทางประวัติศาสตร์ ตำนานท้องถิ่น และวัฒนธรรมชีวิตประจำวัน ซอสามสาย และคำพูดที่ไพเราะเล่าถึงเรื่องราวในอดีตที่ยาวนานเสียงร้องไพเราะและเต็มไปด้วยความหลากหลายสามารถขับร้องเบาๆ อย่างนุ่มนวล หรือร้องด้วยเสียงอันทรงพลังมีชื่อเสียงในเรื่อง "เก้าทำนองสิบแปดจังหวะ"  (九腔十八调) การขับเพลงเล่าเรื่องซ่านเป่ยจะไม่มีการพูดถึงเรื่องโศกนาฏกรรมนี่คือทัศนคติเชิงบวกและความห้าวหาญของชาวสานเป่ยแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณที่เข้มแข็งและไม่กลัวต่อสิ่งใดความเป็นวีรบุรุษและอุดมคติของชาวนาส่านเป่ยการแสดงใช้ไฟเลเซอร์สีเต็มรูปแบบขนาด 34 วัตต์ จำนวน 7 ตัว แต่ละตัวปล่อยลำแสง 10 เส้นสามารถสร้างลำแสงได้ทั้งหมด 70 กลุ่มบนเวทีพร้อมกันไฟเลเซอร์ประกอบด้วยตัวกำเนิดเลเซอร์ สแกนเนอร์ คอนโทรลเลอร์ และเครื่องทำหมอกความแม่นยำของเลเซอร์ไม่สามารถแยกออกจากเเทคโนโลยีออพติคัลและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพของระบบควบคุมการเขียนโปรแกรมการเขียนโปรแกรมเพื่อซิงค์จังหวะเพลงและส่งคำสั่งผ่านตัวควบคุมโดยปรับสี ความสว่าง ทิศทาง และเส้นทางการเคลื่อนที่ของลำแสงเลเซอร์ในภาพที่มีเฟรมเรท 50 เฟรมต่อวินาทีวาดจุด เส้น และพื้นผิวได้อย่างแม่นยำสร้างประสบการณ์การชมที่น่าตื่นตาตื่นใจ

การแสดงเลเซอร์ โดย ทีมงาน Freedots จากประเทศเกาหลีใต้
นักแสดงขับเพลงเล่าเรื่อง โดย หลิวซื่ออ้าย อินซุน หลิวเผยหยิน จากมณฑลส่านซี ประเทศจีน
นักแสดงการเล่านิทานพื้นบ้านส่านเป่ย จากประเทศจีน มณฑลส่านซี: หลิวซื่ออ้าย, หยินชุน, หวังจุน, หลิวเผยหยิน

 



เกี่ยวกับผู้กำกับ Zhang Yimou (จาง อี้โหมว) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์และศิลปินชาวจีนที่มีชื่อเสียงระดับโลก เขาเป็นหนึ่งในผู้กำกับที่มีอิทธิพลมากที่สุดในวงการภาพยนตร์จีน และเป็นที่รู้จักจากการนำเสนอเรื่องราวทางวัฒนธรรมจีนผ่านการใช้เทคนิคการถ่ายทำที่สวยงามและการเล่าเรื่องที่ลึกซึ้ง

ผลงานของเขาได้รับการยอมรับจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีหนังชื่อดังเช่น "Red Sorghum" (1987), "Raise the Red Lantern" (1991), "Hero" (2002), "House of Flying Daggers" (2004), และ "The Flowers of War" (2011) ซึ่งผลงานเหล่านี้ไม่เพียงแต่ได้รับรางวัลมากมาย แต่ยังช่วยให้เขากลายเป็นหนึ่งในผู้กำกับที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลก

นอกจากนี้ Zhang Yimou ยังมีบทบาทสำคัญในการออกแบบการแสดงในงานพิธีเปิด-ปิดของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งได้รับคำชมอย่างล้นหลามจากทั่วโลกในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีและศิลปะในการนำเสนอวัฒนธรรมจีนอย่างน่าทึ่ง

เขายังเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการที่ผสมผสานระหว่างศิลปะดั้งเดิมและเทคโนโลยีทันสมัย โดยเฉพาะการสร้างสรรค์การแสดงใหญ่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและองค์ประกอบทางศิลปะที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของจีน.